Menu
KNOWLEDGE

ความสับสนและความไขว้เขวในเรื่องของปุ๋ยเคมี

        ในปัจจุบัน ความสับสนและความไขว้เขวในเรื่องของปุ๋ยเคมีในประเทศไทยทวีความรุนแรงมากขึ้นๆ เรื่อย จนทางภาครัฐมีนโยบายที่จะจัดทำเป็นวาระแห่งชาติในเรื่องของปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีกันเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต ดังนั้นเพื่อความกระจ่างในเรื่องดังกล่าวนี้ จะใช้บทความดังกล่าวชี้แจงออกเป็นแต่ละประเด็นตามความความสับสนและความไขว้เขวในเรื่องของปุ๋ยเคมี ดังต่อไปนี้

ประการแรก

       คำว่าปุ๋ยเคมีนั้น มีผู้นำไปปะปนกับสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืช ก็เลยเหมาเอาว่า ปุ๋ยเคมีเป็นสิ่งที่ไม่ดี เมื่อใช้แล้วก็จะมีผลเสียต่อผู้บริโภค และสภาพแวดล้อม แท้จริงแล้ว ปุ๋ยเคมีนั้นผลิตจากแร่ธาตุที่ขุดขึ้นมากจากดิน ซึ่งดั้งเดิม ไม่อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช ให้มาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ และเป็นสารประกอบคนละประเภทกับสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งไม่พิษหรือผลตกค้างต่อผู้บริโภค

ประการที่สอง

       มีผู้คิดว่าปุ๋ยอินทรีย์นั้น ควรจะมาทดแทนปุ๋ยเคมีได้ เพราะปุ๋ยอินทรีย์เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติปุ๋ยอินทรีย์มีธาตุอาหารต่างๆ น้อยมาก ดังที่ได้กล่าวแล้ว การที่จะเอาปุ๋ยอินทรีย์มาใช้เพื่อให้เป็นมาใช้เพื่อให้เป็นแหล่งของธาตุอาหาร NPK เพิ่มเติมให้แก่ดินนั้น จะต้องใช้เศษซากพืชซากหรืออินทรีย์สารอื่นๆจำนวนมหาศาล เช่น ถ้าต้องการจะใส่ปุ๋ยยูเรียเพื่อให้ธาตุอาหาร ไนโตรเจน 10 กก.ต่อไร่ นั้น เราใส่ปุ๋ยยูเรียเพียง 21 กก. เท่านั้น แต่ถ้าจะใช้ปุ๋ยคอกจะต้องใส่ถึง 2 ตัน มีปัญหาว่าถ้ากสิกรทั้งประเทศใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์อื่นๆ กันหมด จะหาปุ๋ยเหล่านี้ได้จากไหน

ประการที่สาม

       มีผู้คนกล่าวว่า การใช้ปุ๋ยเคมีทำให้ดินแน่นทึบ ในการที่เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมีมากๆ เพื่อต้องการผลผลิตที่สูง โดยไม่ได้ใส่อินทรียวัตถุ เพิ่มเติมลงไป แต่ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี เพราะจากการทดลอง พบว่า การใช้ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนั้น ทำให้มีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ความแน่นทึบของดินมีน้อยมากกว่า รวมทั้งมีการจับตัวของเม็ดดินมากกว่า ดินที่ไม่เคยใส่ปุ๋ยเคมีเลย

ประการที่สี่

       มีผู้คิดว่า เมื่อใช้ปุ๋ยเคมีแล้ว ปุ๋ยเคมีจะต้องถูกชะล้างลงไปในดิน และตกไปที่น้ำใต้ดิน และออกไปยังแม่น้ำลำธาร ทำให้บ่อน้ำ ลำธาร ทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสีย จากปรากฏการณ์ Eutrophication เหมือนในประเทศญี่ปุ่น แท้ที่จริงแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีในประเทศไทย ยังห่างไกลนักที่จะเกิด ปัญหาดังกล่าว นอกจากในสวนผักบางแห่ง ที่อาจจะใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินความจำเป็น ประการสุดท้าย ผู้บริหารชั้นสูงของประเทศและบุคคลทั่วไป ไม่เข้าใจถึงความสำคัญของดินและปุ๋ย คือการปลูกพืชและการเก็บเกี่ยวผลผลิตออกไปจากดินนั้น เป็นการเอาธาตุอาหารออกไปจากดินอย่างถาวร เมื่อมีการนำออกไปก็ต้องมีการใส่เพิ่มเติมเข้าไป จึงจะเกิดความสมดุล มิฉะนั้น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน จะหมดไปเรื่อยๆ และเมื่อถึงจุดวิกฤต ก็จะสายเกินแก้ การชักนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยชีวภาพทดแทนปุ๋ยเคมีนั้น คงชดเชยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เพราะปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหารต่ำ และปุ๋ยชีวภาพก็ทดแทนได้เฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนเท่านั้น ส่วนปุ๋ยฟอสฟอรัสและปุ๋ยโพแทสเซียมยังมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ลงไปในรูปของปุ๋ยเคมี

 จากหนังสือ “จากปฐพีสู่เทคโนโลยี” 30 ธันวาคม 2535

BACK