Menu
KNOWLEDGE

สินค้าเกษตร...ก้าวสู่โลกยุคใหม่

สินค้าเกษตร............ก้าวสู่โลกยุคใหม่
ประสาท เกศวพิทักษ์*

            สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดสัมมนาเรื่อง “ทิศทางเกษตรไทยในยุค 4 Gs” เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2555 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ โดยในภาคบ่ายได้มีการเสวนาในเรื่อง “สินค้าเกษตรก้าวสู่โลกยุคใหม่” สำหรับบทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเสวนาซึ่งผู้เขียนได้เข้าร่วมในการเสวนาด้วย ก่อนจะเข้าสู่เรื่องการเสวนา ต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 4Gs ในการสัมมนาครั้งนี้คงไม่เกี่ยวข้องกับระบบ 3G แต่ความหมายของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรหมายถึงปัจจัยที่จะเกี่ยวข้องกับทิศทางการพัฒนาการเกษตร ซึ่งประกอบด้วย

G1 คือ Global Economy หรือเศรษฐกิจโลก โดยบริบทนี้ให้ความสำคัญของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลก จะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาการเกษตรและพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติเพราะปัจจุบันทุกประเทศไม่สามารถยืนอยู่อย่างโดดเดี่ยวลำพัง และสินค้าเกษตรได้พัฒนาเป็นสินค้าของโลก ที่เห็นชัดคือสินค้ายางและผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจโลก กล่าวคือ ราคายางจะสูงเมื่อเศรษฐกิจดี เป็นต้น

G2 คือ Growth of Economy หรืออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ ก็มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวทางพัฒนาการเกษตรและการพัฒนาประเทศเช่นเดียวกับเศรษฐกิจโลก

G3 คือ Green Economy หรือเศรษฐกิจสีเขียว เป็นเศรษฐกิจที่คำนึงถึงทรัพยากรเชิงอนุรักษ์ จึงเน้นการผลิตที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด ที่เน้นมากในปัจจุบัน คือ การผลิตที่ลดการปลดปล่อยคาร์บอน หรือให้คาร์บอนต่ำ คือเน้นการใช้ทรัพยากรและปัจจัยอย่างมีประสิทธิภาพ

G4 คือ Grass Roots หรือเกษตรกร ซึ่งเป็นรากหญ้าและรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศเกษตรกรรม รวมทั้งไทยที่มีเกษตรกรมากถึงร้อยละ 40 เกษตรกรจึงเป็นหัวใจสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและทิศทางการพัฒนาการเกษตร ปัญหาคือจะพัฒนาเกษตรกรให้เข้มแข็งยั่งยืนได้อย่างไร

ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานในพิธีเปิดการสัมมนา กล่าวว่าเห็นด้วยกับความสำคัญของ 4Gs แต่ในความเห็นของท่านคิดว่า G4 คือ Grass Roots หรือเกษตรกรผู้เป็นรากหญ้าจะมีบทบาทมากที่สุดที่จะกำหนดทิศทางการพัฒนาการเกษตรของชาติให้ยั่งยืน
สำหรับการเสวนาภาคบ่ายเรื่อง “สินค้าเกษตรก้าวสู่โลกยุคใหม่” สินค้าเกษตรจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร? สินค้าอะไรที่จะมาแทนสินค้าเดิม ๆ หรือไม่ ? เป็นส่วนหนึ่งที่ได้เสนอแนวคิดให้กับที่ประชุม 
สถานการณ์สินค้าเกษตรไทย
           สินค้าเกษตรที่ส่งออกของไทย 10 อันดับต้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ประกอบด้วย
ตารางมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ ปี 2552 – 2554 (หน่วย:ล้าน บาท) 
 
รายการ ปี 2552 ปี 2553 ปี 2554
ยางธรรมชาติ 174,984 296,380 440,890
ข้าวและผลิตภัณฑ์ 183,435 180,727 210,527
น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ 66,748 76,327 116,949
ปลาและผลิตภัณฑ์ 97,562 90,039 112,150
กุ้งและผลิตภัณฑ์ 93,605 101,141 110,643
ผลไม้และผลิตภัณฑ์ 60,757 63,672 81,513
มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ 51,641 68,503 79,658
ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ 48,849 52,230 60,362
ผักและผลิตภัณฑ์ 19,482 19,238 21,425
สินค้าเกษตรอื่น ๆ 165,879 179,093 213,600
       
     
ยางธรรมชาติ ข้าวและผลิตภัณฑ์ น้ำตาลและผลิตภัณฑ์ ปลาและผลิตภัณฑ์ กุ้งและผลิตภัณฑ์ ผลไม้และผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่ ผักและผลิตภัณฑ์ และสินค้าเกษตรอื่น ๆ มีมูลค่าการส่งออกปี 2554 รวม 1,447,716 บาท เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่มีมูลค่าส่งออก 1,135,750 บาท ประมาณ 311,966 บาท โดยมูลค่าการส่งออกด้านพืชประมาณร้อยละ 70 โดยกลุ่มพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ที่สำคัญ มีพื้นที่ปลูกปี 2554 ดังนี้
 
- ข้าว        มีพื้นที่ปลูก 62 ล้านไร่
- ยางพารา มีพื้นที่ปลูก 18.7 ล้านไร่
- อ้อยโรงงาน    มีพื้นที่ปลูก    8.0 ล้านไร่
- มันสำปะหลัง มีพื้นที่ปลูก    7.4 ล้านไร่
- ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มีพื้นที่ปลูก    7.2 ล้านไร่
- ปาล์มน้ำมัน  มีพื้นที่ปลูก    4.5 ล้านไร่
 - สับปะรด  มีพื้นที่ปลูก    0.6 ล้านไร่

รวมเนื้อที่ประมาณ   108.6 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 80 ของพื้นที่ถือครองทางการเกษตร
ผลิตภาพการผลิต (Productivity) ของพืชเศรษฐกิจหลัก

           ทิศทางการพัฒนาการเกษตรจะปรับเปลี่ยนอย่างไร ปัจจัยที่จะเป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญ คือ โอกาสการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่ใช้เป็นตัวชี้วัด คือ ผลิตภาพและผลิตผลสินค้า
           1. ข้าว เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของทุกภาคทั่วประเทศ มีพื้นที่รวม 62 ล้านไร่ อยู่ในภาคเหนือ 13.6 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 37.8 ล้านไร่ ภาคกลาง 9.2 ล้านไร่ ภาคใต้ 1.2 ล้านไร่ มีลักษณะพิเศษ คือ ชอบพื้นที่ ๆ มีลักษณะน้ำขัง พื้นที่ลุ่มที่มีน้ำขัง คือ นาข้าว เมื่อพิจารณาผลิตภาพการผลิตข้าวปี 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่งที่สำคัญปรากฏว่า ไทยอยู่อันดับท้ายสุดให้ผลผลิตไร่ละ 390 กิโลกรัม ในขณะที่เวียดนาม อินโดนีเซีย พม่า และอินเดีย ให้ผลผลิตต่อไร่ 852, 802, 660 และ 552 กิโลกรัม ตามลำดับ
 
ประเทศ พื้นที่ปลูก (ล้านไร่) ผลผลิต (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม)
อินเดีย 233.9 120.6 522
อินโดนีเซีย 82.8 66.4 802
เวียดนาม 47.0 40.4 852
พม่า 50.3 33.2 660
ไทย 62.0 35.6 390 

โอกาสที่ไทยจะต้องแข่งขันกับเวียดนาม อินเดีย และพม่า ที่มีผลิตภาพการผลิตสูงกว่าจึงเป็นเรื่องน่าหนักใจสำหรับผู้เกี่ยวข้องว่าจะกำหนดนโยบายอย่างไรสำหรับการใช้ที่นาเพราะมีนักธุรกิจหลายรายเสนอให้นำพื้นที่นาไปปลูกพืชอื่น โดยหลักวิชาการ การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างไม่เหมาะสมจะต้องมีการพัฒนาและลงทุนสูง นาที่เป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง ถ้าจะใช้ในการปลูกพืชอื่น ๆ เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน Swiss replica watches porsche replica watchesReplica PatekPhilippemontblanc replica watcheshttp://www.childsplayadventureland.co.uk/test.php?p=Bell-Ross-Replica.htmlcartier replica watches ukHublot Replica Watches for sale are the ones that can perform many different functions.
ต้องจัดการพื้นที่ให้น้ำไม่ท่วมขัง อย่างไรก็ดี การจะปรับเปลี่ยนพื้นที่นาไปปลูกพืชอื่นหรือไม่ ขอให้ผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาพระราชดำรัสเกี่ยวกับข้าวบางส่วน ในคราวเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ อำเภอบางนรา จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2536 ดังนี้

           “ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปี ประชากรอาจ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อย ๆ ข้าวจะไม่พอ เราต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวจะปลูกในเมืองไทย สู้ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก …..”
              จากพระราชดำรัสนี้แสดงถึงสายพระเนตรอันยาวไกล ที่ต้องการให้คนไทยตระหนักถึงความมั่นคงทางอาหารและการพึ่งพาตนเอง จะเป็นวิวัฒนาการของสังคมที่ยั่งยืน ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องคงต้องพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน มากกว่าการก้าวตามการเจริญเติบโตของสังคมโลก (Global Growth) เพียงอย่างเดียว ดังนั้นข้าวก็ยังเป็นสินค้าสำคัญในโลกยุคใหม่

              2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกพืชหนึ่งที่มีความต้องการในประเทศกับการส่งออกสูงพอกัน โดยพิจารณาผลิตภาพการผลิตข้าวโพดของไทยในปี 2553 อยู่ในระดับรองจากจีน อินโดนีเซีย แต่สูงกว่าอินเดีย โดยผลผลิตต่อไร่ไทย 665 กิโลกรัม โดยพื้นที่ปลูกข้าวโพดของไทยรวม 7 ล้านไร่ กระจายอยู่ในภาคเหนือ 4.5 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.7 ล้านไร่ ภาคกลาง 0.8 ล้านไร่
 
ประเทศ พื้นที่ปลูก (ล้านไร่) ผลผลิต (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม)
จีน 203 177.5 874
อินโดนีเซีย 26 18.4 709
อินเดีย 45 14.1 313
ไทย 7 4.7 665
       
          
โดยผลิตภาพการผลิตของไทยแม้จะต่ำแต่ก็ยังไม่น่าเป็นกังวลมากนักเพราะยังอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาหลักจะทำอย่างไรจึงจะให้ผลิตภาพการผลิตมีความยั่งยืนเพราะพื้นที่หลักที่ปลูกในภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบสูง มีสภาพเขาที่ลาดชัน การปลูกโดยขาดการทำการเกษตรอย่างถูกต้องจะทำให้เกิดการสูญเสียหน้าดิน น้ำไหลบ่าเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ซึ่งยังไม่สามารถสนองตอบเศรษฐกิจสีเขียวได้ สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ยังมีปัญหาความเสื่อมโทรมของดินเช่นเดียวกับภาคเหนือ ดังนั้นถ้าจะยังคงให้ข้าวโพดเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศในโลกยุคใหม่จะต้องพิจารณาถึงการพัฒนาพื้นที่เชิงอนุรักษ์เพื่อลดปัญหาการบุกรุกทำลายป่าต่อไป
           
3. มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่ใช้เป็นอาหารพลังงานแล้วสามารถใช้ในอุตสาหกรรมเชิงอนุรักษ์ผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้ (Bio-Plastic) มันสำปะหลังจึงเป็นพืชที่มีโอกาสมากในโลกยุคใหม่ แม้จะพิจารณาผลิตภาพการผลิตไทยในปี 2553 ก็อยู่ในระดับกลางผลผลิตต่อไร่ 3,000 กิโลกรัม รองจากอินเดีย อินโดนีเซีย แต่สูงกว่าเวียดนามที่ให้ผลผลิตต่อไร่ 5,600, 3,200 และ 2,800 กิโลกรัม ตามลำดับ โดยพื้นที่ปลูกของไทยรวม 7.4 ล้านไร่ อยู่ในภาคเหนือ 1.4 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.9 ล้านไร่ ภาคกลาง 2.1 ล้านไร่ โดยผลผลิตต่อไร่ 3,103, 3,073 และ 3,107 กิโลกรัม

 
ประเทศ พื้นที่ปลูก (ล้านไร่) ผลผลิต (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม)
อินโดนีเซีย 7.4 23.9 3,200
ไทย 7.4 22.0 3,000
เวียดนาม 3.1 8.5 2,800
อินเดีย 1.4 8.1 5,600
       

จากผลิตภาพการผลิตทั้ง 3 ภาคใกล้เคียงกัน แต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มต่ำสุดเพราะสภาพดินเป็นดินทรายถึงร่วนทราย แต่ในทางปฏิบัติเก็บเกี่ยวง่าย สภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวน การจะปลูกพืชอื่น ๆ ก็ค่อนข้างเสี่ยง มันสำปะหลังก็ยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในโลกยุคใหม่ นอกเสียจากรัฐจะมีนโยบายการพัฒนาที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมกว่าปัจจุบัน สำหรับแนวทางการพัฒนาเร่งด่วนก็คงเป็นการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและลดต้นทุการผลิตเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งต่างๆ

4. อ้อยโรงงาน เป็นพืชเศรษฐกิจที่เป็นทั้งอาหารและพลังงานที่ทั่วโลกมีความต้องการสูง โดยไทยสามารถส่งออกน้ำตาลและผลิตภัณฑ์เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากบราซิล แต่เป็นอันดับ 1 ในแถบเอเชีย-แปซิฟิก อ้อยโรงงานจึงเป็นวัตถุดิบที่สำคัญของโรงงาน การผลิตอ้อยมักไม่มีปัญหาด้านราคาเพราะได้มีการประเมินราคาอ้อยล่วงหน้าให้เกษตรกรทราบอยู่แล้ว ผลิตภาพการผลิตอ้อยในปี 2553 ไทยเป็นรองแต่ฟิลิปปินส์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่ 15.0 ตัน ไทยให้ผลผลิตต่อไร่ 10.9 ตัน สูงกว่าอินเดีย จีนและอินโดนีเซีย ทีให้ผลผลิตต่อไร่ 10.4 และ 10.1 ตันตามลำดับ โดยมีพื้นที่ปลูกปี 2555 เพิ่มขึ้นจากปี 2553 มากถึง 1.8 ล้านไร่
 
ประเทศ พื้นที่ปลูก (ล้านไร่) ผลผลิต (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม)
อินเดีย 26.2 277.7 10.6
จีน 10.6 111.5 10.5
ไทย 6.3 66.8 10.9
ฟิลิปปินส์ 2.3 34.0 15.0
อินโดนีเซีย 2.7 26.5 10.1


ซึ่งกระจายอยู่ในภาคเหนือ 2.1 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.2 ล้านไร่ ภาคกลาง 2.7 ล้านไร่ โดยผลิตภาพการผลิตต่อไร่ 13,271, 12,096 และ 12,511 กิโลกรัม ตามลำดับ โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผลิตภาพการผลิตต่ำสุดเนื่องจากสภาพดินส่วนใหญ่เป็นทราย การกระจายของฝนไม่ดีเท่าภาคอื่น ๆ

สำหรับในโลกยุคใหม่ อ้อยโรงงานก็ยังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเพราะมีความต้องการมาก ประกอบกับการปลูกอ้อยเป็นลักษณะการทำฟาร์มแบบที่พันธะสัญญา (Contract Farming) จึงไม่มีปัญหาด้านการแข่งขัน แต่เกษตรกรต้องแข่งขันกับตนเองในการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและลดต้นทุน

5. ยางพารา  เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้กับภาคการเกษตรสูงสุดในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา แต่จากราคายางที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ประเทศผู้ผลิตยางขยายพื้นที่ปลูกยางมากกว่าปีละกว่า 650,700 ไร่ต่อปี รวมทั้งไทยที่ช่วง 10 ปี จากปี 2545 – 2554 พื้นที่ปลูกยางเพิ่มขึ้นถึง 6.4 ล้านไร่ โดยในปี 2554 มีพื้นที่ปลูกยางมากถึง 18.7 ล้านไร่ แต่เมื่อพิจารณาถึงผลิตภาพการผลิตยางของประเทศคู่แข่ง ปรากฏว่าผลิตภาพการผลิตยางของไทยปี 2553 เป็นรองอินเดียเท่านั้น โดยผลผลิตต่อไร่ของไทย 278 กิโลกรัม อินเดีย 291 กิโลกรัม ขณะที่อินโดนีเซีย มาเลเซีย จีน เวียดนาม มีผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 161, 138, 150 และ 167 กิโลกรัม ตามลำดับ จากผลิตภาพการผลิตของประเทศคู่แข่ง การผลิตยางพาราของไทยไม่น่าจะเป็นปัญหาด้านการแข่งขัน การปลูกยางในไทยปี 2554 มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 18.7 ล้านไร่ กระจายอยู่ในภาคใต้ 11.9 ล้านไร่ ภาคเหนือ 0.9 ล้านไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.5 ล้านไร่ ภาคกลาง 2.5 ล้านไร่ โดยผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 262, 222, 248 และ 285 กิโลกรัม ตามลำดับ
 
ประเทศ พื้นที่ปลูก (ล้านไร่) ผลผลิต (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม)
อินโดนีเซีย 20 2.9 161
ไทย 18 3.2 278
มาเลเซีย 8 1.1 138
จีน 7 0.1 150
เวียดนาม 5 0.7 167
อินเดีย 5 0.8 291


จากผลิตภาพที่ผลิตต่อไร่ที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งสำคัญ ปัญหาประสิทธิภาพการผลิต จึงไม่ใช่ปัญหา ปัญหาน่าจะเป็นต้นทุนโดยเฉพาะแรงงานที่ประเทศไทยเป็นการจ้างทำ แต่ประเทศคู่แข่ง เกษตรกรดำเนินการเอง แต่ในโลกยุคใหม่ ยางพาราก็ยังเป็นสินค้าสำคัญปัญหาที่ภาครัฐจะต้องคำนึงถึง คือ ทำอย่างไรให้เกษตรกรยอมรับราคาตลาดโดยรัฐไม่ต้องไปแทรกแซงเพราะการแทรกแซงโดยไทยแต่ประเทศผู้ผลิตยางทุกประเทศจะได้รับประโยชน์
 
6. ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของไทยอีกพืชหนึ่ง เพราะสามารถสกัดมาเป็นอาหารและพลังงานทดแทน แต่การปลูกปาล์มมีข้อจำกัดที่พื้นที่ที่จะต้องมีฝน 120 -150 วัน การขยายพื้นที่ไปในเขตที่ไม่เหมาะสมจะมีผลกระทบต่อผลิตภาพการผลิต และโอกาสการแข่งขันกับประเทศที่ปลูกปาล์มน้ำมันอื่น ๆ เพราะในอนาคต เมื่อการค้าเปิดเสรีตามข้อตกลงอาเซียน การนำเข้าน้ำมันปาล์มโดยเสรี จะมีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มของไทย เมื่อพิจารณาผลิตภาพการผลิตในปี 2553 ปรากฏว่าผลิตภาพการผลิตของไทยเป็นรองอินโดนีเซียและมาเลเซีย    โดยผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 2,315, 2752 และ 3,392 กิโลกรัม โดยพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันของไทยปี 2554 ปลูกเพิ่มเป็น 4.1 ล้านไร่ อยู่ในภาคเหนือ  21,714 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  78,801 ไร่ ภาคกลาง 465,586 ไร่ และภาคใต้ 3,569,101 ไร่ ให้ผลผลิตต่อไร่  710, 1,367, 2,632 และ 2,932 กิโลกรัม ตามลำดับ
 
ประเทศ พื้นที่ปลูก (ล้านไร่) ผลผลิต (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม)
อินโดนีเซีย 31.2 86 2,752
มาเลเซีย 25.0 85 3,392
ไทย 3.5 8 2,315
       
       
จากผลิตภาพการผลิตของไทยที่ต่ำกว่ามาเลเซียและอินโดนีเซีย ประการแรกคือปริมาณน้ำฝนและการกระจายของฝนในไทยสู้มาเลเซียและอินโดนีเซียไม่ได้ อีกประการหนึ่งคือการส่งเสริมการปลูกปาล์มในพื้นที่ ๆ ไม่เหมาะสม ฝนตกน้อยกว่า 120 วัน เช่น ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงทำให้ผลิตภาพการผลิตต่ำ การที่รัฐได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมการปลูกปาล์มเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนเป็นเรื่องดีแต่การส่งเสริมจะต้องกำหนดแผนและเขตการส่งเสริมให้ชัดเจนเพื่อขจัดปัญหาการแข่งขันและการนำเข้าจากเพื่อนบ้าน ตลอดจนความผันผวนของราคาน้ำมันในอนาคต

ในอนาคตปาล์มน้ำมันหรือน้ำมันปาล์มที่เป็นสินค้าในโลกยุคใหม่ และนับวันก็จะมีความสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะปาล์มน้ำมันที่ปลูกและเก็บเกี่ยวได้แล้วกว่า 4-6 ล้านไร่และที่อาจจะเพิ่มขึ้น ปัญหาคือการเพิ่มประสิทธิภาพโดยการบริหารจัดการน้ำ ให้เพียงพอต่อความต้องการของปาล์ม ซึ่งเป็นพืชที่ต้องการน้ำมากถึง 3,600  ลบม. ต่อไร่ ต่อปี มิฉะนั้นจะกระทบต่อผลิตภาพการผลิต

7. สับปะรด เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญพืชหนึ่ง ปัจจุบันไทยส่งออกสับปะรดและน้ำสับปะรดกระป๋องเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยผลิตภาพการผลิตสับปะรดของไทยปี 2553 อยู่ระดับปานกลาง ผลผลิตต่อไร่ 3,299 กิโลกรัม เป็นรองอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จีน ที่ให้ผลผลิตต่อไร่ 11,120, 5,926 และ 4,243 กิโลกรัม แต่ผลิตภาพการผลิตสูงกว่าอินเดีย และเวียดนาม

 
ประเทศ พื้นที่ปลูก (ล้านไร่) ผลผลิต (ล้านตัน) ผลผลิตต่อไร่ (กิโลกรัม)
ฟิลิปปินส์ 366 2,169 5,926
ไทย 596 1,966 3,299
จีน 358 1,519 4,243
อินเดีย 536 1,420 2,649
อินโดนีเซีย 125 1,390 11,120
เวียดนาม 259 477 1,856

สำหรับปี 2554 พื้นที่ปลูกสับปะรดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 659,625 ไร่ กระจายในภาคเหนือ 120,403 ไร่ ภาคระวันออกเฉียงเหนือ 21,091 ไร่ ภาคกลาง 511,424 ไร่ ภาคใต้ 6,707 ไร่ โดยผลผลิตต่อไร่เท่ากับ 4,012, 3,599 และ 4,105 กิโลกรัม ตามลำดับ โดยภาคกลางมีพื้นที่มากที่สุดร้อยละ 80 ของทั้งประเทศ แต่ผลิตภาพการผลิตเป็นอันดับ 2 รองจากภาคใต้ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ แล้ว ไทยยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อีก

ในอนาคตสับปะรดก็ยังคงเป็นพืชในโลกยุคใหม่ที่สำคัญ แต่การปรับโครงสร้างการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นเพื่อลดปัญหาด้านราคา ควรนำรูปแบบการบริหารจัดการของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลมาเป็นต้นแบบ ควบคู่กับการลดต้นทุน ปัญหาผลิตภาพการผลิตต่ำ (Low Productivity)

            ปัญหาหลัก ๆ ที่ทำให้ผลิตภาพการผลิตต่ำ ประกอบด้วย
           1. ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม การใช้ที่ดินต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยขาดการบำรุงรักษาอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการทำให้ดินเสื่อมโทรมลง นอกจากนี้จากการนำผลิตผลออกไปและเศษเหลือไปใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมพลังงานชีวมวล (เศษเหลือ - biomass) ในด้านพลังงานก็ทำให้ดินเสื่อมโทรมอีกทางหนึ่ง โดยเฉพาะปริมาณอินทรียวัตถุลดลงอย่างเห็นชัด โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอินทรีย์ต่ำกว่า 0.6 % ทำให้การใช้ธาตุอาหารและปุ๋ยในดินขาดประสิทธิภาพ การพัฒนาที่ดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนพร้อมกับการบริหารจัดการน้ำ
           2. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ที่ทั่วโลกกำลังพวงว่าจะเกิดกระทบต่อการเป็นอยู่ของมนุษย์ชาติที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรเพื่อมุ่งพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลกระทบเกิดทั้งทางตรงและอ้อม ที่เห็นชัดคือความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศเพิ่มขึ้น ทั่วโลกประสบปัญหาน้ำท่วมฉับพลันและฝนแล้งในเวลาเดียวกัน ที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและสินค้าเกษตร ในขณะเดียวกันเชื่อว่าผลจากการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบต่อโรคอุบัติใหม่ ๆ ที่กระทบต่อมนุษย์และพืช
           3. ขาดการใช้เทคโนโลยี โดยข้อเท็จจริงต้องยอมรับว่า ทั้งภาครัฐและเอกชน มีหน่วยงานวิจัยและพัฒนาผลงานด้านเทคโนโลยี่การผลิตมีมากและหลากหลาย แต่ขาดการบูรณาการทางเทคโนโลยี่ให้อยู่ในภาพรวมที่ง่าย สะดวก กับการใช้ ประกอบกับการส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ไม่ทั่วถึง ไม่สม่ำเสมอ มักปรับเปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับสูง จะเห็นได้จากเทคโนโลยี่หลายชนิดดีแต่ไม่ประสบความสำเร็จ อาทิ มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรตามระบบ GAP (Good Agricultural Practices, Good Aquatic Practices และ Good Animal Practices) ที่เผยแพร่มานานก็ยังเป็นมาตรฐานสมัครใจทั้ง ๆ ที่ควรเป็นมาตรฐานบังคับเพราะเกิดประโยชน์ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค เพราะมาตรฐาน GAP ได้คำนึงถึงการเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม มีการจัดการดินที่ถูกต้อง มีการดูแล (ใช้ปุ๋ย ควบคุมแมลงศัตรูพืช) อย่างถูกต้อง เก็บเกี่ยวตามอายุการเก็บเกี่ยวไม่เก็บเมื่ออ่อนหรือแก่เกินไป เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วมีระบบขนส่งที่ไม่ปนเปื้อน สุดท้ายมีการเก็บสต็อกสินค้าอย่างถูกต้องเพื่อให้ทรงคุณภาพนานที่สุด จึงกล่าวได้ว่า การผลิตพืชแบบมาตรฐาน GAP ผู้ผลิตปลอดภัย ผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริโภคได้รับผลิตผลที่ปลอดภัยจากสารเคมี นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดของเกษตรกรเองทั้งด้านการเข้าถึงแหล่งทุน การจัดหาปัจจัยที่มีคุณภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพจึงควรเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี่ ควบคู่กับพัฒนาเกษตรกรด้วย
          4. ปัญหาการถือครองที่ดิน ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการพัฒนาผลิตภาพการผลิต เพราะเกษตรกรที่ไม่มีที่ของตนเองจะไม่มั่นใจกับการลงทุน ว่าพัฒนาไปแล้วจะได้เช่าทำการเกษตรต่อหรือไม่ บางรายเมื่อใส่ปัจจัยการผลิตมาก พืชผลให้ผลผลิตดีเจ้าของที่ก็อาจขอขึ้นค่าเช่าได้ ในปี 2552 พบว่าในพื้นที่ถือครองทางการเกษตร 131.6 ล้านไร่ เป็นเนื้อที่ถือครองของเกษตรกรจริง ๆ เพียง 63.1 ล้านไร่   เป็นที่ถือครองของคนอื่นมากถึง 68 ล้านไร่ ในพื้นที่ถือครองของเกษตรกรจริง ๆ ยังติดจำนองผู้อื่น 26.4 ล้านไร่ 
            สรุป เกษตรกรที่ทำการเกษตรบนพื้นที่ของตนเองเพียง 37.2 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 28 ของพื้นที่ถือครองการเกษตรทั้งหมด โดยภาคเหนือเกษตรกรนำที่ไปจำนองมากที่สุดถึงร้อยละ 51รองลงมาเป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้และภาคกลาง ที่ร้อยละ 41, 37 และ 33 อนาคตการพัฒนาการเกษตรให้เกิดความยั่งยืนจะต้องปรับปรุงแก้ไขให้เกษตรกรมีพื้นที่ทำกินของตนเอง สิ่งแรกควรน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติอย่างจริงจัง เพราะหากพิจารณาข้อเท็จจริงแล้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเกษตรกรมีรายได้ต่อครัวเรือนต่ำสุดแต่ก็ยังมีการครอบครองที่ดินเป็นของตนเองมากกว่าภาคเหนือ การที่เกษตรกรถือครองพื้นที่เป็นของตนเองน้อยย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาผลิตภาพการผลิต 
 
ประเทศ/ภาค
เนื้อที่ถือครอง
ทางการเกษตร(ล้านไร่)

เนื้อที่ถือครองของเกษตรกร(ล้านไร่) 
เป็นของตน / ติดจำนอง
รวม
เนื้อที่ถือครองคนอื่น
(ล้านไร่)
รวมทั้งประเทศ 131.6 37.2 / 26.5 65.7 68.0
เหนือ 28.6 5.3 / 5.5 10.8 17.8
ตะวันออกเฉียงเหนือ 58.1 19.7 / 14.1 33.8 24.8
กลาง 25.6 5.8 / 2.9 8.7 16.9
ใต้ 19.2 6.4 / 3.9 10.3 8.8 

 
โอกาสในการแข่งขัน
            ในโลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งการแข่งขันสินค้าของแต่ละประเทศ ไม่ได้ผลิตมาเพื่อบริโภคเหมือนในอดีตเพราะการขนส่งที่ทันสมัยทำให้สินค้าที่ผลิตได้เป็นสินค้าของโลก โอกาสการแข่งขันจึงมาจากปัจจัยหลัก ๆ
           1. จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น โดยทาง FAO ทำนายว่าในอนาคตอันใกล้ (ประมาณ 20 ปีข้างหน้า) ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นจาก 7,000 ล้านคน เป็น 9,000 ล้านคน ความต้องการสินค้าเกษตรที่เป็นอาหารและพลังงานจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่พื้นที่ทำการเกษตรมีจำกัด การบุกรุกทำลายป่ามาพัฒนาผลผลิตคงทำไม่ได้อีกแล้ว จึงเป็นโอกาสของประเทศผู้ผลิตที่จะต้องเลือกสินค้าที่จำเป็นและยังขาดแคลน
           2. ปัญหาพลังงาน เนื่องจากพลังงานฟอสซิลในโลกนับวันจะลดน้อยลง ในขณะเดียวกันความต้องการเพิ่มขึ้นจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและการใช้ทรัพยากรอย่างขาดสติ ความมั่นคงทางพลังงานจึงเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต ประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรที่สามารถพัฒนาเป็นพลังงานทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง ข้าวโพดและพืชน้ำมันอื่น ๆ จึงมีโอกาสมากในโลกยุคใหม่
           3. ข้อจำกัดของพื้นที่ในการผลิตสินค้าเกษตรมีจำกัด การตัดไม้ทำลายป่าเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายรังเกียจ และพยายามควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ http://www.childsplayadventureland.co.uk/test.php?page=Hublot-Replica-Watches.htmlจึงเป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยที่ทำให้สินค้าเกษตร มีโอกาสมากขึ้นในอนาคตโลกยุคใหม่
 
อุปสรรค 
            ในการแข่งขันนอกจากในเรื่องของผลิตภาพการผลิตแล้ว ในเรื่องของต้นทุนก็เป็นปัจจัยสำคัญในปัจจุบัน อุปสรรคของการแข่งขันต้องขึ้นกับปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้
          1. ศักยภาพการผลิตหรือผลิตภาพการผลิตที่ต่ำ ซึ่งสาเหตุได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ผลิตภาพการผลิตที่ต่ำจึงเป็นผลต่อต้นทุนต่อหน่วยที่จะสูงขึ้น จึงทำให้ลดความสามารถในการแข่งขัน
           2. ต้นทุนการผลิต ปัจจุบันรัฐได้ประกาศค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศวันละ 300 บาท ก็มีผลต่อต้นทุนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้น ต้นทุนด้านปัจจัยการผลิตก็เพิ่มขึ้นจากปัญหาค่าแรงที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนราคาพลังงานทั้งน้ำมัน ไฟฟ้า ที่มีผลต่อขบวนการขนส่งและการผลิตที่ทำให้สินค้าเกษตรมีต้นทุนที่สูงขึ้น ลดโอกาสของสินค้าโลกยุคใหม่
           3. ขาดการใช้เทคโนโลยี จากผลิตภาพการผลิตที่ต่ำหลายคนมักกล่าวว่าขาดเทคโนโลยี แต่ความจริงแล้ว หน่วยราชการที่มีภารกิจได้ผลิตเทคโนโลยีควบคู่มากับการวิจัยตลอดแต่การใช้เทคโนโลยียังมีน้อยเนื่องจากมีข้อจำกัดโอกาสใช้เทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีด้าน GAP มีมากว่า 10 ปี แต่เกษตรกรได้ใช้เทคโนโลยีด้าน GAP น้อยมาก ผู้เกี่ยวข้องคงต้องกลับมาพิจารณามาตรการผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้
           4. การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ จะมีผลทั้งโดยตรงและทางอ้อม ทางตรงมีการวิจัยว่าช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงในกลางคืนเพียง 2-3 องศาเซลเซียล ในช่วง 3-4 ชั่วโมง ข้าวที่ตั้งท้องจะติดเมล็ดน้อยลงร้อยละ 20-30 ในทางอ้อม จากภาวการณ์เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก ทำให้ฤดูการผันแปรมีทั้งฝนแล้ง น้ำท่วม   ก่อให้เกิดผลเสียต่อผลิตผลทางการเกษตร การเกิดโรคอุบัติใหม่ๆ ก็มีผลกระทบต่อผลิตผลอีกด้วย 
 
สินค้าเกษตรที่จะก้าวสู่โลกยุคใหม่

เมื่อพิจารณาจากข้อจำกัดทางสภาพภูมิประเทศ สภาพดินและวัฒนธรรม ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่มีอยู่ในประเทศ พืชเศรษฐกิจหลักของประเทศในโลกยุคใหม่ก็ยังคงเป็นยางพารา ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ปาล์มน้ำมัน สับปะรด พืชผัก และผลไม้ แต่จะต้องมีการพัฒนาให้สามารถอยู่รอดในโลกยุคใหม่ที่จะมีการแข่งขันรุนแรงขึ้น โดยเพิ่มผลิตภาพการผลิตควบคู่กับการลดต้นทุน และใช้ทรัพยากรอย่างระมัดระวังและมีประสิทธิภาพให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ให้เป็นที่ยอมรับและยืนหยัดอยู่ได้ในยุคเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)
 
นอกจากการเพิ่มผลิตผลการผลิตและลดต้นทุนแล้ว ระบบการผลิตสินค้าในโลกยุคใหม่จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาด้านคุณภาพมากกว่าปริมาณเพราะจากการเติบโตของเศรษฐกิจโลก (Global Growth) ประชากรชั้นกลางเพิ่มขึ้นซึ่งประชากรเหล่านี้เริ่มเน้นการซื้อสินค้าปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น การผลิตสินค้าเกษตรไทยจึงควรเน้นการผลิตตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และมาตรฐาน GAP โดยเฉพาะการผลิตข้าวเพื่อหนีการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งที่ไม่มีมาตรฐานการผลิต มาตรฐานการผลิตข้าวตามมาตรฐาน GAP จึงควรเป็นมาตรฐานบังคับและผลักดันการผลิตข้าว GAP เป็นมาตรฐานอาเซียน เพื่อสุขภาพของผู้ผลิต ผู้บริโภคในอาเซียน และจะเป็นจุดขายข้าวคุณภาพของไทยและอาเซียนได้อีกทางหนึ่ง

สรุปแล้วสินค้าเกษตรในโลกยุคใหม่ของไทย คงไม่เปลี่ยนแปลงมากนักแต่จะต้องพัฒนาผลิตภาพการผลิต ลดต้นทุน ผลิตสินค้าคุณภาพ replica watches ukโดยขบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย
 
เกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmers)

ในข้อเท็จจริงในระบบการผลิตสินค้าเกษตรในโลกยุคใหม่จะสำเร็จและเป็นไปได้หรือไม่ ปัจจัยหลักreplica longines watchesสู่ความสำเร็จ(Key of Success) คือ “เกษตรกรรากหญ้า” (Grass Roots) ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงให้ความสำคัญของ G4 ที่จะเป็นผู้ปฏิบัติให้เป็นไปตามเป้าหมาย จะต้องเป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง    

เกษตรปราดเปรื่องจะเป็นอย่างไร? หลายคนอาจสับสนว่าจะเป็นอย่างไร? ก่อนที่จะตอบหรือเฉลยปริศนานี้ อยากให้ลองกลับไปพิจารณาพระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2511 (เป็นปีที่ผู้เขียนเข้ารับปริญญาด้วย) บางส่วน
  
 “การส่งเสริมที่สำคัญอย่างหนึ่งที่กำลังเร่งกระทำอยู่ในขณะนี้ คือ การเพิ่มผลผลิตโดยที่ถือว่าผลผลิตเป็นที่มาของรายได้ การผลิตนั้นทุกคนคงเห็นได้ไม่ยากว่ามีความเกี่ยวพันถึงความต้องการตลาด การจำหน่าย วิธีจัดการกิจการ ตลอดจนถึงการนำรายได้หรือผลประโยชน์ จากการผลิตมาใช้สอยบริโภคด้วย ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตที่ถูกต้อง จึงมิใช่การใช้วิชาการทางการเกษตรเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตแต่เพียงอย่างเดียว แต่หากต้องเป็นการใช้วิชาการทางการเกษตรประกอบกับวิชาการด้านอื่นๆ ช่วยให้ผู้ผลิตได้รับประโยชน์ตอบแทนแรงงาน ความคิด และทุนของเขา ที่ใช้ในการผลิตอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งสามารถนำผลตอบแทนนั้น มาใช้สอยปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ให้มั่นคงขึ้นได้ด้วย”
 
            จากพระบรมราโชวาทนี้ พระองค์ได้กล่าวถึงเกษตรปราดเปรื่องไว้นานแล้วแต่ที่ผ่านมาผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มิได้น้อมนำมาเป็นแนวทางการส่งเสริม ซึ่งอาจจะมีปัจจัยที่ไม่เอื้อหรือยังไม่ถึงเวลา แต่วันนี้ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เน้นการพัฒนาอย่างเร่งด่วน     ความหมายของเกษตรกรปราดเปรื่องที่พระองค์กล่าว คือ        
           1. เกษตรกรที่ใฝ่หาความรู้ มีความรอบรู้ ดังที่พระองค์กล่าวว่า การผลิตนั้นเกี่ยวพันถึงความต้องการของตลาด การจำหน่าย วิธีจัดการกิจการ นั่นก็คือ เกษตรกรต้องมีความรู้เรื่องตลาดโดยเฉพาะตลาดล่วงหน้าที่จะได้นำราคาล่วงหน้ามาเป็นปัจจัยการคาดคะเนความต้องการของตลาด นำราคาล่วงหน้ามาช่วยวางแผนการจำหน่ายและยังต้องศึกษาหาความรู้ในการจัดการให้การผลิตนั้นใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน เกษตรกรมีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ
           2. พระองค์ได้เน้นความสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ นอกจากใฝ่รู้ ยังต้องมีเหตุมีผลในการปรับโครงสร้างการผลิต ไม่วิ่งตามโลกมากจนเกินไปโดยเน้นการผลิตที่มีศักยภาพที่สำคัญสามารถได้รับผลตอบแทนที่คุ้มทุน นอกจากนั้นเมื่อขายผลผลิตแล้วต้องรู้จักบริหารเงินหรือใช้เงินอย่างมีเหตุผลเพื่อสร้างฐานะความเป็นอยู่ที่มั่นคงพร้อมทั้งมีภูมิคุ้มกันในการบริหารจัดการด้วย
            เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว เกษตรกรปราดเปรื่อง G4 ที่จะอยู่ได้ในภาวะเศรษฐกิจโลกที่ก้าวหน้า (Global Growth) และการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ (Growth of Economy) จะต้องเป็นเกษตรกรที่ใฝ่รู้ รอบรู้ทุกสาขาวิชาทั้งด้านการผลิต การตลาด การจำหน่าย และมีความสามารถในการบริหารกิจการภายใต้เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) อย่างมั่นคงและยั่งยืนโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานหลักในการพัฒนาเพื่อรองรับการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นในโลกยุคใหม่ 
BACK